บ้านทรุดแก้ไขยังไงดี?

บ้านทรุดแก้ไขยังไงดี?

บ้านทรุดส่วนมากจะเกิดจากปัญหาฐานราก ซึ่งก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ซี่งเจ้าของบ้านเมื่อเห็นบ้านทรุดก็กังวลใจว่าบ้านจะพังหรือไม่ และมีวีธีการแก้ไขอย่างไร

สำหรับบ้านที่สร้างในพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งมีสภาพเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนมาก โดยดินชนิดนี้จะมีการทรุดด้วยตัวเองอยู่แล้วจากน้ำหนักดินถมที่มากดทับ หรือจากปัญหาการสูบน้ำบาดาล ดังนั้นหากบ้านมีเสาเข็มยาวไม่ถึง 18 เมตรบ้านจะมีโอกาสทรุดตัวได้

อาจจะมีคำถามว่าบ้านสมัยก่อนที่ตอกเสาเข็มสั้น 6-8 เมตร ทำไม่ไม่พังนั้น จะต้องตอบว่าการทรุดอาจจะไม่ใข่สาเหตุที่ทำให้บ้านพังหากเสาเข็มนั้นทรุดเท่ากันๆ แต่โครงสร้างบ้านจะพังหากการทรุดของเสาเข็มแต่ละต้นไม่เท่ากัน (Differential Settlement)

แล้วหากบ้านทรุดแล้วจะแก้ไขอย่างไร?? ในกรณีที่บ้านทรุดแต่โครงสร้างไม่เสียหายเพราะเสาเข็มแต่ละต้นทรุดเท่าๆกัน เราก็สามารถใช้บ้านได้ต่อไป แต่หากมีการทรุดมากเกินไปจนทำให้ระดับบ้านต่ำกว่าถนนและเกิดน้ำท่วม ก็สามารถใช้วิธีการดีดบ้าน ทำให้บ้านสูงขึ้นได้

ในกรณีที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย โดยเคสนี้มักจะเกิดในส่วนต่อเติมบ้านที่ใช้เสาเข็มความยาวไม่เท่ากับตัวบ้าน แนวทางแก้ไขคือการตอกเสาเข็มยาวทดแทนเสาเข็มเดิม โดยต้องใช้เสาเข็มพิเศษที่เรียกว่าไมโครไพล์ แล้วจึงทำการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างด้านบน เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ทั้งนี้การแก้ไขฐานรากถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญ จึงควรเลือกใช้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ภายใต้การดูแลของวิศวกร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *