Tag Archives: บ้านทรงไทยน็อคดาวน์

สร้างบ้านสำเร็จรูปต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่?

สร้างบ้านสำเร็จรูปต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่?

ข้อกฏหมายกำหนดว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมจะต้องมีขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเหตุผลเรื่องความแข็งแรงปลอดภัย และป้องกันการละเมิดสิทธิหรือรบกวนบ้านข้างเคียง หากเราก่อสร้างสร้างต่อเติมแล้วไม่ได้ขออนุญาต อาจจะทำให้เพื่อนบ้านร้องเรียนไปยังเขตให้ระงับการก่อสร้างได้ แต่โดยทั่วไปแล้วบ้านที่ต่อเติมมักจะไม่ค่อยแจ้งขออนุญาตก่อสร้าง เพราะการต่อเติมที่จะยื่นขออนุญาตได้ต้องมีระยะร่นตามกฏหมายซึ่งบางบ้านมีพื้นที่จำกัดจะไม่สามารถทำได้ การเลือกซื้อบ้านสำเร็จรูป จะดีกว่าก่อสร้างระบบเดิม คือจะลดปัญหาการขัดแย้งกับเพื่อนบ้านระหว่างการก่อสร้าง เช่น ประเด็นการร้องเรียนระหว่างการก่อสร้าง และการเลือกใช้บ้านขนาดเล็กที่ยกมาติดตั้งในบ้านเราสามารถแจ้งว่าเป็นอาคารชั่วคราวได้ เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้ หรือหากเราต้องการติดตั้งถาวรก็เพียง จัดทำแปลนพร้อมสถาปนิก วิศวกรลงนามรับรอง ก็สามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามปกติได้ เราก็จะอยู่บ้านได้แบบสบายใจ #บ้านสำเร็จรูป #ขออนุญาตก่อสร้าง

บ้านตู้คอนเทนเนอร์ กับบ้านน็อคดาวน์ ต่างกันอย่างไร?

บ้านตู้คอนเทนเนอร์ กับบ้านน็อคดาวน์ ต่างกันอย่างไร?

บ้านสำเร็จรูปที่มีขายบน Online ปัจจุบันจะเห็นเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ บ้านทำจากตู้คอนเทนเนอร์ กับบ้านที่เป็นแบบน็อคดาวน์ซี่งจะมีข้อดีข้อเสียและประโยชน์ใช้สอยต่างกัน ถ้าบ้านสำเร็จรูปที่ทำจากตูคอนเทนเนอร์ ข้อแรกคือเรามั่นใจได้เรื่องความแข็งแรงเพราะโครงสร้างจะถูกผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน สามารถรับน้ำหนักได้หลายตัน มีผนังปิดมั่นใจเรื่องน้ำรั่วซึมได้ดี สามารถขนย้ายได้ง่ายเพราะออกแบบให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก แต่มีข้อพิจารณาคือ พื้นที่ใช้สอยจะจำกัด เพราะขนาดมาตรฐานของคอนเทนเนอร์คือกว้างประมาณ 2.4 เมตร ยาว 6.00 เมตรหรือ 12.00 เมตร ทำให้เมื่อนำมาออกแบบบ้านจะได้บ้านที่แคบและยาว ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการจัดพื้นที่ใช้สอย นอกจากนี้บ้านตู้คอนเทนเนอร์ยังมีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งบางคนอาจจะชอบ แต่บางคนกลับรู้สึกว่าอยู่ไม่น่าจะสบาย ซี่งอันนี้ขึ้นอยู่กับรสนิยม ซึ่งก็สามารถตกแต่งปรับปรุงได้บ้าง แต่อารมณ์ก็ไม่เหมือนกับบ้าน Conventional แบบเดิมๆ ส่วนบ้านน็อคดาวน์นั้นเป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้า อาจจะมีการปรับขนาดให้กว้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย หรือตกแต่งหน้าตาบ้านในสไตล์เราได้ แต่ต้องเข้าใจว่าการออกแบบและผลิตบ้านน็อคดาวน์ขึ้นกับมาตรฐานแต่ละบริษัทที่ต่างออกไป ดังนั้นการเลือกใช้บ้านน็อคดาวน์อาจจะต้องเลือกบริษัทที่ไว้ใจได้ #บ้านคอนเทนเนอร์ #บ้านน็อคดาวน์ #บ้านสำเร็จรูป #BaanNext

บ้านสำเร็จรูป จะดีกว่าบ้านก่ออิฐฉาบปูนได้ยังไง?

บ้านสำเร็จรูป จะดีกว่าบ้านก่ออิฐฉาบปูนได้ยังไง?

เวลาทีเราจะสร้างบ้านสักหลังคนทั่วไปมักจะสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน ส่วนการใช้บ้านสำเร็จรูปมักไม่ค่อยมีใครนึกถึง เพราะดูแล้วแข็งแรงสู้บ้านก่ออิฐฉาบปูนไม่ได้ ซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูก แต่อาจจะไม่ 100% เพราะจริงๆแล้ว แต่ละระบบก่อสร้างก็จะมีข้อดีข้อเสียและตอบโจทย์ของเจ้าของบ้านที่ต่างกัน จริงอยู่บ้านที่สร้างด้วยคอนกรีตก่ออิฐฉาบปูนจะให้ความรู้สึกที่แข็งแรงและทนทานกว่าบ้านสำเร็จรูป ตัวบ้านดูแลรักษาง่าย แต่ก็จะมีข้อพิจารณาคือใช้ระยะเวลาการก่อสร้างสร้างยาวนาน มีขั้นตอนก่อสร้างมาก ตั้งแต่วางผัง ทำไม้แบบ ผูกเหล็ก เทปูน บ่มคอนกรีต ก่ออิฐ ฉาบปูน … และอื่นๆ จากขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน จำเป็นจะต้องมีการควบคุมที่ดี ดังนั้นเจ้าของบ้านต้องใช้เวลาดูแลระหว่างการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด แต่ในหากเจ้าของบ้านไม่มีเวลาหรือไม่มีความชำนาญก็อาจจะโดนผู้รับเหมา (บางราย) โกงสเป็คได้ ทางแก้ไขคือเจ้าของบ้านอาจจะจ้างที่ปรึกษามาคุมงานแทนก็ได้ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติมขึ้นมา จากข้อจำกัดของบ้านก่ออิฐฉาบปูนซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก ปัจจุบันจึงมีการนำเสนอรูปแบบบ้านสำเร็จรูปคือ เป็นบ้านที่ผลิตจากโรงงาน เจ้าของบ้านสามารถไปเลือกดูรูปแบบที่ถูกใจ แล้วให้เข้ามาติดตั้งที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปคุมงานก่อสร้างเอง แต่บ้านสำเร็จรูปก็มีข้อจำกัดคือ บ้านจะถูกสร้างจากสถานที่หนึ่งก่อนที่จะขนส่งไปติดตั้งในพื้นที่ของลูกค้า ทำให้มีข้อจำกัดว่าจะต้องมีน้ำหนักไม่เยอะเพื่อให้ขนส่งได้ บ้านสำเร็จรูปส่วนใหญ่จึงเลือกใช้เหล็ก เพราะในความแข็งแรงที่เท่ากันเหล็กจะเบากว่าคอนกรีต ดังนั้นเราคงไม่ได้บอกว่าบ้านก่ออิฐฉาบปูน หรือบ้านสำเร็จรูปดีกว่ากัน เพราะขึ้นกับว่าบ้านหลังนั้นตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ เช่นบางคนอยากจะสร้างบ้านในรั้วเดียวกับพ่อแม่ แต่ไม่สะดวกให้คนงานเข้ามาทำงานในพื้นที่ซึ่งอาจจะรบกวนการใช้ชีวิต การใช้บ้านสำเร็จรูปก็อาจจะเหมาะกว่า ส่วนประเด็นความปลอดภัยในการอยู่อาศัยนั้น วิศวกรสามารถออกแบบให้บ้านสำเร็จรูปแข็งแรงทนทานเทียบเท่าบ้านก่ออิฐฉาบปูนได้แล้ว Credit : Photo Baan Next @copyright2020 #บ้านสำเร็จรูป #บ้านน็อคดาวน์ […]

บ้านทรุดแก้ไขยังไงดี?

บ้านทรุดแก้ไขยังไงดี?

บ้านทรุดส่วนมากจะเกิดจากปัญหาฐานราก ซึ่งก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ซี่งเจ้าของบ้านเมื่อเห็นบ้านทรุดก็กังวลใจว่าบ้านจะพังหรือไม่ และมีวีธีการแก้ไขอย่างไร สำหรับบ้านที่สร้างในพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งมีสภาพเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนมาก โดยดินชนิดนี้จะมีการทรุดด้วยตัวเองอยู่แล้วจากน้ำหนักดินถมที่มากดทับ หรือจากปัญหาการสูบน้ำบาดาล ดังนั้นหากบ้านมีเสาเข็มยาวไม่ถึง 18 เมตรบ้านจะมีโอกาสทรุดตัวได้ อาจจะมีคำถามว่าบ้านสมัยก่อนที่ตอกเสาเข็มสั้น 6-8 เมตร ทำไม่ไม่พังนั้น จะต้องตอบว่าการทรุดอาจจะไม่ใข่สาเหตุที่ทำให้บ้านพังหากเสาเข็มนั้นทรุดเท่ากันๆ แต่โครงสร้างบ้านจะพังหากการทรุดของเสาเข็มแต่ละต้นไม่เท่ากัน (Differential Settlement) แล้วหากบ้านทรุดแล้วจะแก้ไขอย่างไร?? ในกรณีที่บ้านทรุดแต่โครงสร้างไม่เสียหายเพราะเสาเข็มแต่ละต้นทรุดเท่าๆกัน เราก็สามารถใช้บ้านได้ต่อไป แต่หากมีการทรุดมากเกินไปจนทำให้ระดับบ้านต่ำกว่าถนนและเกิดน้ำท่วม ก็สามารถใช้วิธีการดีดบ้าน ทำให้บ้านสูงขึ้นได้ ในกรณีที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย โดยเคสนี้มักจะเกิดในส่วนต่อเติมบ้านที่ใช้เสาเข็มความยาวไม่เท่ากับตัวบ้าน แนวทางแก้ไขคือการตอกเสาเข็มยาวทดแทนเสาเข็มเดิม โดยต้องใช้เสาเข็มพิเศษที่เรียกว่าไมโครไพล์ แล้วจึงทำการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างด้านบน เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้การแก้ไขฐานรากถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญ จึงควรเลือกใช้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ภายใต้การดูแลของวิศวกร

บ้านร้าว ต้องกังวลหรือไม่?

บ้านร้าว ต้องกังวลหรือไม่?

สำหรับคนที่สร้างบ้านปูน มักจะพบปัญหาบ้านร้าว เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุเปราะ เมื่อมีการขยับตัวแม้เล็กน้อย ก็จะทำให้ปูนร้าวได้ โดยสาเหตุอาจจะเกิดได้จากปํญหาโครงสร้าง หรือแค่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิก็ทำให้ปูนร้าวได้แล้ว คนส่วนใหญ่พอเห็นบ้านร้าวก็กลัวว่าอาคารจะพัง ซึ่งยังไม่ต้องตกใจเพราะ แม้จะเห็นรอยร้าวแต่บ้านยังปลอดภัยรอยร้าวหากเล็กกว่า 0.3 มม. เพราะถือว่าอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ทางวิศวกรรม หากร้าวกว้างกว่า 0.3 มม. ก็อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เสาเข็มทรุด, ผู้ออกแบบมีทักษะไม่เพียงพอ หรือมีการบรรทุกเกินกว่าที่ออกแบบไว้ ซี่งคงต้องให้วิศวกรช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ซี่งโดยส่วนใหญ่ปัญหารอยร้าวหากรู้สาเหตุเร็วมักจะแก้ไขได้ โดยไม่ต้องทุบทำลาย เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีด้านก่อสร้างได้พัฒนาไปมาก ดังนั้นหากรู้เร็วซ่อมเร็วจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะลุกลามได้ สำหรับโครงสร้างเหล็กจะแตกต่างกับโครงสร้างปูน เพราะเหล็กจะไม่ร้าว เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุเหนียว หากเลือกใช้โครงสร้างเหล็กก็ช่วยลดปัญหากวนใจจากบ้านร้าวได้

บ้านสำเร็จรูป แพงกว่าบ้านปูน?

บ้านสำเร็จรูป แพงกว่าบ้านปูน

หลายคนที่เคยเห็นบ้านสำเร็จรูปมักจะมีความคิดว่าบ้านสำเร็จรูปราคาน่าจะถูกว่าบ้านปูน แต่เมื่อเข้าไปถามราคาแล้วอาจจะตกใจว่าบ้านสำเร็จรูปราคาแพงกว่าที่คาด หรือบางทีอาจจะแพงกว่าบ้านปูนเมื่อเทียบในพื้นที่เท่าๆ กัน บ้านปูนที่สร้างกันทั่วไปมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ไม่ถึง 10,000 บาทต่อ ตร.ม. จนถึงราคาเป็นแสนต่อ ตร.ม. ซึ่งราคาที่ต่างกันเป็นสิบเท่านี้ก็ขึ้นกับว่าเลือกใช้บริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ หรือผู้รับเหมารายย่อยทำ รวมถึงการเลือกใช้สเป็คธรรมดาหรือสเป็คหรูหรา (โดยราคาวัสดุงานสถาปัตย์จะมีมูลค่ามากกว่า 50% ของราคาบ้าน) ส่วนบ้านสำเร็จรูปราคาจะเริ่มประมาณ 15,000 บาทต่อ ตร.ม. เนื่องจากบ้านสำเร็จรูปจะใช้โครงสร้างเหล็กซึ่งราคาวัสดุจะแพงกว่าคอนกรีต พร้อมกับบ้านสำเร็จรูปจะต้องบวกราคาค่าขนส่งอีกด้วย แต่บ้านสำเร็จรูปจะมีข้อได้เปรียบคือค่าแรงจะถูกเพราะใช้เวลาก่อสร้างน้อย และเสียค่า Overhead หรือค่าบริหารโครงการน้อยกว่าเพราะไม่ต้องเสียค่าบ้านพักคนงานค่าคุมงานของวิศวกร เมื่อเปรียบเทียบค่าก่อสร้างบ้านปูนกับบ้านสำเร็จรูป ในความเห็นแอดมินขอเรียงราคาค่าก่อสร้างดังนี้ “บ้านปูน(ผู้รับเหมารายย่อย) < บ้านสำเร็จรูป < บ้านปูน(บริษัทรับเหมา)” บ้านปูนหากใช้ผุ้รับเหมารายย่อยค่าก่อสร้างราคาจะถูกที่สุด บ้านสำเร็จรูปราคาจะสูงขึ้นแต่ได้เปรียบเรื่องสร้างเร็ว ลดภาระค่าแรง ส่วนบ้านปูนที่ใช้บริษัทรับเหมาขนาดใหญ่จะต้องเสียค่าบริหารโครงการค่าวิศวกรควบคุมงานทำให้ราคาสูงขึ้น แต่ในกรณีบ้านขนาดเล็กการใช้บ้านสำเร็จรูปมีแนวโน้มจะราคาถูกที่สุดเนื่องจากไม่ต้องเสียค่าเตรียมงาน และยิ่งพื้นที่ก่อสร้างน้อย ค่าแรงต่อตารางเมตรของงานปูนจะยิ่งสูงขึ้น –> ดังนั้นงานบ้านขนาดเล็กและงานต่อเติม บ้านสำเร็จรูปอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งด้านเวลา คุณภาพ และราคา #บ้านสำเร็จรูป #BaanNext #บ้านราคาถูก #บ้านน็อคดาวน์ #บ้านโมดูล่าร์

บ้านสำเร็จรูป ต้องมีวิศวกรออกแบบ!!!

บ้านสำเร็จรูป ต้องมีวิศวกรออกแบบ

ตามกฏหมายแล้ว อาคารหรือสิ่งก่อสร้างจะต้องมีวิศวกรออกแบบ เพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต ซึ่งรวมถึงบ้านสำเร็จรูป เพราะหากโครงสร้างไม่แข็งแรง อาจจะมีอันตรายแก่ผู้ที่พักอาศัยได้ ดังนั้นในการเลือกซื้อบ้านสำเร็จรูปควรจะเลือกจากบริษัทที่น่าเชื่อถือได้ หรือควรสอบถามว่ามีการออกแบบรับรองโดยวิศวกรหรือไม่ เพราะผู้ประกอบบางรายอาจจะก่อสร้างโดยใช้ความชำนาญแต่ไม่มีวิศวกรออกแบบ ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในภายหลังได้ และในกรณีเลวร้ายอาจจะส่งผลถึงชีวิต โดย #BaanNext ถูกก่อตั้งโดยทีมสถาปนิก และวิศวกรชั้นนำ ที่มีใบประกอบวิชาชีพ ดังน้นลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐานความแข็งแรงปลอดภัยของบ้าน เพื่อให้ลูกค้าได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี #BaanNext #บ้านสำเร็จรูป #บ้านปลอดภัย #บ้านน็อคดาวน์

บ้านสำเร็จรูปต้องตอกเสาเข็มไหม?

บ้านสำเร็จรูปต้องตอกเสาเข็มไหม?

เป็นคำถามที่เจ้าของบ้านจะต้องพิจารณาอย่างแรกๆ เพราะกระทบกับงบประมาณและระยะเวลาก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ในพื้นทีกรุงเทพแม้จะเป็นชั้นดินแหนียวอ่อนที่มีอัตราการทรุดตัวมาก แต่ก็สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 1 ตันต่อตารางเมตร ซี่งสามารถรับน้ำหนักของบ้านสำเร็จรูปชั้นเดียวได้อยู่แล้ว เพราะบ้านสำเร็จรุปส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเบาเพราะทำจากโครงสร้างเหล็ก ดังนั้นการติดตั้งบ้านสำเร็จรูปชั้นเดียวไม่จำเป็นจะต้องตอกเสาเข็มก็ได้ แต่ต้องยอมรับว่าบ้านอาจจะมีการทรุดตัวตามพื้นดินโดยรอบได้ และมีข้อที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือห้ามทำโครงสร้างเชื่อมบ้านสำเร็จรูปกับตัวบ้านหลัก เพราะจะเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันและจะทำให้ส่วนที่เชื่อมฉีกขาดออกจากกันได้ ในกรณีที่เลือกไม่ตอกเสาเข็ม แนะนำให้ทำเป็นฐานรากแผ่ โดยเทเป็นพื้นคอนกรีตด้านล่าง เพื่อถ่ายน้ำหนักของบ้านสำเร็จรูปลงสู่พื้นดินด้านล่างอย่างสม่ำเสมอป้องกันการเอียงของตัวบ้าน #BaanNext #บ้านสำเร็จรูป #บ้านน็อคดาวน์ #ไม่ต้องตอกเสาเข็ม หมายเหตุ : หากซีเรียสเรื่องการทรุดของบ้าน ก็อาจจะเลือกเป็นตอกเสาเข็มได้ ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้น และการทำงานก็จะยุ่งยากกว่า ในกรณีที่ไม่ต้องการให้บ้านทรุดเลยก็ควรจะตอกลึกไม่น้อยกว่า 18 เมตร

บ้านสำเร็จรูป ชั่วคราวหรือถาวร?

บ้านสำเร็จรูป ชั่วคราวหรือถาวร?

บ้านสำเร็จรูป คนมักจะคิดว่าเหมาะสำหรับใช้เป็นบ้านชั่วคราวเท่านั้น เพราะดูว่าไม่คงทนแข็งแรง แต่จริงๆ แล้วหากมีการออกแบบตามหลักวิศวกรรมแล้ว จะมีอายุการใข้งานที่ยาวนานเทียบเท่ากับบ้านโดยทั่วไปเลย อายุการใช้งานอาจจะยาวนานตั้งแต่ 30-50 ปี สำหรับในต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น การใช้บ้านสำเร็จรูป (Modular House) เป็นบ้านถาวรในการอยู่อาศัย เป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นบ้านที่ออกแบบอย่างมีมาตรฐาน มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมั่นใจได้ว่ามีความแข็งแรงปลอดภัย ไม่ต่างจากบ้านที่สร้างรูปแบบเดิม (Conventional system) ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าหากบ้านสำเร็จรูปที่มีการออกแบบดี สามารถใช้งานได้ยาวนาน สามารถใช้เป็นบ้านพักชั่วคราว จนถึงใช้เป็นบ้านพักอาศัยถาวรได้ ไม่ต่างจากวิธีการก่อสร้างแบบเดิม #BaanNext#บ้านสำเร็จรูป#บ้านน็อคดาวน์#บ้านชั่วคราว

บ้านสวยๆสไตล์ โมดูล่าร์

บ้านสวยๆสไตล์ โมดูล่าร์